HELLO !!!
- นางสาวกรรณิการ์ วิรัชวา รหัสประจำตัว 603020904-0 สาขาวิชาสถิติ หลักสูตรสารสนเทศสถิติ SC-SI SECTION 1
- วิธีติดตั้ง Miniconda 3.7.4
- วิธีการใช้งาน Colab
- วิธีการใช้งาน GitHub
เริ่มต้นด้วย
ให้เข้าไปที่ www.Google.com พิมพ์คำว่า Miniconda จากนั้นให้เลือกที่ผลการค้นหาที่ปรากฏอันดับแรก
เมื่อกดเข้าไปจะพบกับหน้า Home page ที่มีให้เลือกติดตั้ง Miniconda ที่มีทั้งสำหรับผู้ใช้ Windows, MacOSX, และ Linux ซึ่งมี version Python 2.7 และ 3.7 สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบ Windows 64-bit Operating system ให้เลือกติดตั้ง Version Python 3.7 Miniconda3 Windows 64-bit ตามนี้
เมื่อคลิ้กไปแล้ว จะได้ไฟล์ที่โหลดเป็น .exe ดังภาพ จากนั้นทำการกด RUN ได้เลย
กด Next ไปเลย
กดไปที่ I Agree
เลือก Just Me แล้วกด Next ได้เลย
โปรแกรมจะถามว่า ให้เลือกเก็บไว้ที่ไหนในคอมพิวเตอร์ หากต้องการเปลี่ยนที่จัดเก็บให้คลิ้กที่ Browse เพื่อเปลี่ยนที่จัดเก็บโปรแกรมได้เลย หลังจากนั้นให้กด Next ต่อไป
กด Install ให้ติดตั้ง Miniconda34.7.12(64 Bit) ได้เลย
รอจนกว่าโปรแกรมโหลดเสร็จให้สีเขียวเต็มหลอด แล้วก็กด Next ต่อไปได้
เมื่อ Download เสร็จสิ้นแล้ว ให้กดเสร็จสิ้น(Finish)ก็ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ให้ไปกดที่ Start และเลือกกด Anaconda Prompt(Python 3.7) ให้คลิ้กเปิดโปรแกรมขึ้นมา
คือ ตรวจสอบว่าโปรแกรมที่ติดตั้งนั้นเป็น Python Version ไหน ให้ใช้คำสั่ง “Python”
แล้วกด ENTER โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดต่างๆสำหรับ Version ที่ติดตั้ง คือบอกว่าเป็น Python 3.7.4
คือ การเปลี่ยนที่เก็บงาน หรือเปลี่ยนไฟล์ที่ใช้เก็บงานต่างๆที่ทำลงในโฟลเดอร์ที่กำหนด
คือ ติดตั้ง Matplotlib ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เอาไว้สำหรับสร้างกราฟต่างๆในการใช้ Python ซึ่งเป็น Function ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการใช้งานเรื่อง Data ติดตั้งโดยใช้คำสั่ง “Conda install Matplotlib” แล้วกด ENTER
จากนั้น ระบบจะทำการติดตั้ง Function Matplotlib ให้ แต่จะถามว่า Proceed([Y]/n)? ให้กด Y แล้ว ENTER และเสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้ง
ติดตั้ง Jupyter Notebook เอาไว้สำหรับเขียน Code เพื่อ RUN คำสั่งของ Python ในการติดตั้งโปรแกรมให้เขียนว่า “conda install jupyter”
ระบบจะทำการติดตั้ง Jupyter notebook ให้ แต่จะถามว่า Proceed([Y]/n)? ให้กด Y แล้ว ENTER และเสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้ง
การใช้งาน Jupyter notebook ให้ใช้คำสั่งสำหรับเปิดบราวเซอร์การทำงานของ Jupyter ว่า “Jupyter notebook”
แล้วโปรแกรมจะเปิดบราวเซอร์สำหรับการใช้งานภาษา Python ดังภาพ
การสร้าง New notebook ให้กดที่ New >> เลือก Python3
โปรแกรมที่แสดงหน้าพร้อมสำหรับการใช้งานภาษา Python
หากต้องการเปลี่ยนชื่อ notebook ใหดับเบิ้ลคลิ้กที่ Menu Bar >> พิมพ์ชื่อที่ต้องการเปลี่ยนแล้วกด Rename
การทดสอบใช้งานคำสั่งภาษา Python ใน Jupyter notebook
- ข้อดีของการใช้งานภาษา Python บน Jupyter notebook ก็คือสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนต
- ข้อเสีย คือ จะต้องติดตั้งโปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ก่อนใช้งานทุกครั้ง
ต่อไป
Google Colab คือ Jupyter note book ที่รันอยู่บนคลาวด์ เพื่อใช้ในการจัดเก็บตัวโค้ดเท่านั้น โดยมีภาษา Python เป็นภาษาหลักที่ใช้เขียนและรันงานบนเว็บ Colab นี้
ให้เข้าไปที่ https://www.google.com พิมพ์คำว่า Google Colab เลือกเข้าไปที่ผลการค้นหาอันดับแรกที่ปรากฏขึ้นมา แต่ให้เข้าระบบบัญชีของ Gmail เอาไว้ก่อน เพื่อเป็นการเข้าสู่ระบบ
เมื่อคลิ้กเข้าไปจะพบว่า มีหน้าต่างที่แสดงไฟล์งานต่างๆที่เราจัดเก็บเอาไว้เป็นโค้ดบนระบบคลาวด์ สำหรับผู้ที่เคยทำงานใน Colab มาก่อน แต่ถ้าหากผู้ที่ใช้งานใหม่ หน้าต่างจะแสดงไฟล์ที่ชื่อว่า Welcome to Collaboratory เท่านั้น
หากต้องการสร้าง Notebook ใหม่ ให้กดที่คำว่า New Python3 Notebook
หลังจากกดคำว่า New Python3 Notebook แล้วจะปรากฏ Notebook ใหม่ที่ให้เขียนโค้ดและรันภาษา Python ในนั้นได้
การ Download ไฟล์งานเมื่อทำการเขียนโค้ดหรือรันเสร็จเรียบร้อย ให้กดที่ File > Download .ipynb ซึ่งแนะนำให้ทำการโหลดเพียงนามสกุลไฟล์เป็น ipynb เท่านั้น
- ข้อดีของการใช้งาน Google Colab คือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆก่อนใช้งาน ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานได้ เพียงแค่มีบัญชี Google Drive
- ข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้งานแบบออฟไลน์ได้ จะต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในการใช้งานตลอดเวลา
และสุดท้ายคือ
GitHub คือ website Git (version control repository) ที่อยู่บน สามารถเข้าถึงข้อมูลและจัดการไปผ่าน web โดยไม่ต้องเสียเงิน หรือลงทุกตั้ง server เพื่อติดตั้ง Git เอง แต่ code project ทั้งหมดจะถูกแจกจ่ายให้คนอื่นๆสามารถเห็นได้ด้วย
การสมัครและสร้าง GitHub Account
ให้เข้าไปที่ https://www.google.com พิมพ์คำว่า Github เลือกเข้าไปที่ผลการค้นหาที่มีที่อยู่เว็บไซต์ชื่อ https://github.com ให้คลิ้กเข้าไปที่หน้า Homepage ของเว็บไซต์
คลิ้กที่ Sign up เพื่อสร้าง Account ของตนเอง
จะปรากฏหน้าจอดังนี้ ให้กรอกรายละเอียดต่างๆเพื่อสร้าง Account ใหม่
เมื่อทำการ Create เรียบร้อยแล้ว ทางระบบจะส่ง E-mail ไปที่กล่องข้อความให้เข้าไปกดยืนยัน E-mail ในทันที
หลังจากนั้นระบบจะให้เราเข้าไปสร้างชื่อไฟล์งาน Project โดยในที่นี้ตั้งชื่อว่า python_dataviz จากนั้นคลิ้กคำว่า Create repository จึงเป็นอันสร้าง Account เสร็จสิ้น
Download โปรแกรม visual studio code ใช้สำหรับแก้ไขซอร์สโค้ด ควบคุม Git ในตัวและ GitHub เน้นไวยากรณ์ และเติมโค้ดอัจฉริยะสำหรับทำงานร่วมกับ Github
ให้เข้าไปที่ https://www.google.com พิมพ์คำว่า visual studio code เลือกเข้าไปที่ผลการค้นหาที่ปรากฏขึ้นอันดับแรก ให้คลิ้กเข้าไปที่หน้า Homepage ของเว็บไซต์ กดเพื่อ Download for Windows
เลือก Windows สำหรับ 64-bit
เมื่อกด Download จะได้ไฟล์นามสกุล .exe ให้กดรันโปรแกรมเลย
เมื่อกดรันแล้วให้กด Next ต่อไปเรื่อยๆ รอให้หลอดสีเขียวเต็มคือ Download โปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จะได้หน้าตาของโปรแกรมเป็นประมาณดังนี้
การเชื่อมต่อโปรเจคใน Github กับ Jupyter notebook และ visual studio code โดยใช้ Anaconda prompt ภาษา Python เริ่มต้นด้วยการติดตั้ง Function ในการใช้งานร่วมกับ Gitgub ใน Anacoda prompt install ใช้คำสั่ง conda install -c anaconda git
กด Y ไปเลยในการติดตั้ง
หลังจากนั้นให้ Copy URL จากเว็บไซต์ Gitgub ที่ได้สร้างชื่อไฟล์ไว้ที่ Account ของเราเอง
เปิดโปรแกรม Anaconda prompt(3.7) ขึ้นมา แล้วนำ URL มาใช้สำหรับการเชื่อมต่อโปรเจคกับ Github โดยใช้คำสั่ง
git clone ตามด้วย URL ที่ copy มาจาก Github
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เปลี่ยนที่อยู่ในการจัดเก็บไฟล์ไว้ที่ repository ชื่อ Project โดยในที่นี้ตั้งชื่อว่า python_dataviz โดยใช้คำสั่ง
cd python_dataviz
การอัพโหลดงานขึ้นบนเว็บไซต์ github อันดับแรกให้เช็คสถานะของไฟล์งานก่อนว่ามีงานใดบ้างยังไม่ได้อัพโหลดขึ้นไปที่เว็บไซต์ Github โดยใช้คำสั่ง Git status
ถ้าเป็นตัวหนังสือสีแดงนั้นคือ ยังไม่ได้ทำการอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ Github ให้เพิ่มไฟล์เข้าไป โดยใช้คำสั่ง
git add (ชื่อไฟล์)
แล้วกด ENTER
จากนั้นใช้คำสั่ง
git commit –m "ชื่อคอมเม้นของงานเรา”
เพื่อเป็นการเตือนว่า เมื่อแก้ไขงานแล้ว Version นี้ที่แก้ไขนั้นเป็น version ไหนแล้ว
เนื่องจากระบบไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำ Folder ที่เราต้องการจะอัพโหลดขึ้นไป จึงต้องบอก E-mail และ User.name ที่ใช้ในการสร้าง Account บน Github
จากนั้นใช้คำสั่ง
git push
สำหรับการนำไฟล์งานต่างๆอัพโหลดขึ้น Github โปรแกรมจะให้ใส่ Username และ password เพื่อการยืนยันตัวตนในการใช้งาน Account บน Github
หลังจากอัพโหลดเรียบร้อยแล้วให้กลับไปที่เว็บไซต์ Github และกดรีเฟรชใหม่ จะเห็นไฟล์ที่อัพขึ้นมาใหม่ นั่นคือเสร็จสิ้นกระบวนการ
การใช้ Visual Studio code ควบคู่ไปกับการทำงานบน Github เพื่อเขียน Markdown สำหรับอัพลงเว็บอีกครั้งหนึ่ง ในการจะไปที่การเขียน Markdown จะใช้คำสั่ง code .
เว็บไซต์ที่ใช้ในการเรียนรู้วิธีเขียน Markdown ชื่อ "markdown cheat-sheet"
โปรแกรมจะเชื่อมโยงไปที่ Visual Studio Code ให้โดยอัตโนมัติ
----เสร็จเรียบร้อยแล้ว----